ผลการจัดประสบการณ์การเรียนแบบร่วมมือด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จํานวน สําหรับเด็กปฐมวัย
THE EFFECTS OF COOPERATIVE LEARNING WITH E-BOOKS ON PRESCHOOL CHILDREN’S BASIC MATH SKILLS ON NUMBER
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนแบบร่วมมือ ผลการวิจัยพบว่าเมื่อใช่การเรียน แบบร่วมมือแล้วผลการเรียนดีขึ้นจากเดิม และรูปแบบการเรียนที่เน้นกระบวนการกลุ่ม และให้ นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักเรียนเอง และยังเป็นรูปแบบของการช่วยเหลือกันมากกว่าการ แข่งขัน ซึ่งทําให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจากการเรียนแบบร่วมมือนั้น การ ทําวิจัยที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะทํา 2 รูปแบบ คือรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และ รูปแบบการ แบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์(StudentTeams-AchievementDivisionหรือSTAD) รูปแบบการแบ่งกลุ่ม ตามผลสัมฤทธิ์(StudentTeams-AchievementDivisionหรือSTAD)เหมาะกับเด็กปฐมวัย เนื่องจาก มีการสอนเนื้อหาให้กับนักเรียนก่อน แล่วจึงให้นักเรียนทบทวนสิ่งที่เรียนมาร่วมกันเพื่อให้การเรียน การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงเล็งเห็นประโยชน์และความสําคัญของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และกับการ เรียนแบบร่วมมือมาช่วยในการจัดประสบการณการเรียนสําหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็ก
ปฐมวัยขึ้นเพื่อช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและยังเป็นเครื่องมือช่วยสอนสําหรับครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้นักเรียนสนใจบทเรียน และควรเรียน ควบคู่กับการเรียนแบบร่วมมือ เนื่องจากเด็กปฐมวัยมักยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง จึงควรให้เด็กมปี ฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างเรียนช่วยเหลือกันเพื่อให้บรรลุจุดหมายในการเรียน ดังนั้นการเรียนแบบร่วมมือด้วยหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้และนําไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องจํานวน สําหรับเด็กปฐมวัย
2.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับคะแนนทดสอบก่อนเรียน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 จากการเรียนแบบร่วมมือด้วยหนังสืออิเลก็ ทรอนิกส์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่องจํานวน สําหรับเด็กปฐมวัย
3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ เรื่องจํานวน สําหรับเด็กปฐมวัย
อ้างอิง
วัชยา ปราบพยัคฆ์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ปีการศึกษา 2554 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี