วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การเรียนครั้งที่ 14

   6 กิจกรรมหลัก ของเด็กปฐมวัย



1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ

ประเด็นสำคัญ

- ส่งเสริมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะโดยใช้เสียงเพลงคำคล้องจองเพื่อการเคลื่อนไหว

- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์พัฒนาการใช้ร่างกายให้ประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์โดยการเคลื่อนไหวลักษณะต่างๆ


2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง

ประเด็นสำคัญ

- เล่นอิสระตามมุมเล่นหรือมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ในห้องเรียน

- ให้เด็กเลือกเล่นได้อย่างศรีรีตามความสนใจและความต้องการทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มหรืออาจเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนจัดเสริมขึ้น

3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก

ประเด็นสำคัญ

- พัฒนาทักษะการเรียนรู้มีการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่

- มีการฟังพูดสังเกตคิดแก้ปัญหาและใช้เหตุผล

- ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนโดยกิจการด้วยวิธีต่างๆ


4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ

- จัดให้ออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระโดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

ประเด็นสำคัญ

- แสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ตนาการโดยจัดกิจกรรมศิลปะต่างๆ

6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

ประเด็นสำคัญ

- เป็นเกมที่เล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มก็ได้

- มุ่งเน้นพัฒนาสติปัญญาให้รู้จักสังเกตเหตุผลและเกิดความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์

- เป็นการฝึกฝนกฎเกณฑ์กติกาง่าย


อาจารย์ฝึกให้เขียนวัตถุประสงค์



เกมการศึกษา

ชื่อ กิจกรรมเรียงลำดับแผนภาพการเกิด

ครูให้เด็กเรียงลำดับแผนภาพ 4 ลำดับเกี่ยวกับการเกิดของสัตว์ประเภทต่างๆ ตามที่จัดเตรียมให้

วัตถุประสงค์

1. เด็กๆ สามารถเรียงลำดับแผ่นภาพได้

2. เด็กๆ สามารถจัดลำดับการเกิดของสัตว์ตามประเภทต่างๆ ได้


กิจกรรมสร้างสรรค์

ชื่อ กิจกรรมสัตว์น้ำแสนสวย

ครูนำเสนอตัวแบบกระดาษรูปสัตว์น้ำประเภทต่างๆให้เด็กเลือกตัวแบบที่ตนชอบวางบนกระดาษที่จัดเตรียมให้จากนั้นใช้ดินสอคัดลอกจากขอบของตัวแบบกระดาษใช้กรรไกรตัดรูปสัตว์ตามรอยที่คัดลอกให้เป็นรูปล่างให้เด็กเติมส่วนประกอบของสัตว์น้ำและตกแต่งงานด้วยสินค้าและวัสดุแวววาวหลากสี

วัตถุประสงค์

1. เด็กๆ สามารถใช้กรรไกรตัดรูปสัตว์ตามรอยได้

2. เด็กๆ สามารถตกเเต่งผลงานได้


กิจกรรมกลางแจ้ง

ชื่อกิจกรรมวิ่งเก็บถุงถั่ว

ครูแบ่งเด็กเป็นสองแถวโดยให้เด็กคนแรกของแต่ละแถวกระโดดขาเดียวไปหยิบถุงถั่วที่วางอยู่ในตะกร้าด้านหน้าและนำกลับมาที่แถวของตนทำเช่นนี้จนครบทุกคน

วัตถุประสงค์

1. เด็กๆ สามารถกระโดดขาเดียวไปหยิบถุงถั่วที่วางไว้ได้

2. เด็กๆ สามารถหยิบถุงถั่วนำกลับมาที่เเถวของตนเองได้


ชื่อกิจกรรมสะกดรอย

ครูและเด็กเล่นเกมความจำโดยให้เด็กเลือกเปิดภาพสัตว์ทีละภาพและหารอยเท้าที่สัมพันธ์กับจุ๊งสังเกตและสนทนาร่วมกันในลักษณะรอยเท้าสัตว์ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไรแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มเพื่อสะกดรอยตามหาเจ้าของรอยเท้าว่าสัตว์ประเภทใดเก็บสะสมรอยเท้าสัตว์ของตนไว้เพื่อนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ว่ามีลักษณะอย่างไรเป็นรอยเท้าของสัตว์ประเภทใดและมีจำนวนเท่าไหร่กูและเด็กร่วมกันพัฒนาวัดรอยเท้าสัตว์ของแต่ละกลุ่มเล่นเกมรวมขาโดยให้เด็กทำท่าสัตว์ประราร์ดตามเพลงเนื้อเพลงต้องรวมขาของตนและเพื่อนเพื่อนให้ได้ตามจำนวนที่ครูกำหนดจากนั้นครูตรวจสอบจำนวนร่วมกับเด็ก

วัตถุประสงค์

1. เด็กๆ สามารถสังเกตเเละสนทนาร่วมกันในลักษณะของรอยเท้าสัตว์ได้

2. เด็กๆ สามารถนำเสนอรอยเท้าของสัตว์เป็นกลุ่มใหญ่ได้

3. เด็กๆ สามารถบอกจำนวนของรอยเท้าสัตว์ได้

     

รูปภาพบรรยากาศในการเรียน







  ประเมิน


                    ประเมินอาจารย์ : สดใส ยิ้มเเต่งตัวสุภาพเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือดี
                               ประเมินตัวเอง : ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์เเละให้ความร่วมมือ




วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การเรียนครั้งที่ 13

                   พัฒนาการเด็กปฐมวัย

พัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญาแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวุฒิภาวะและสภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับ พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยอาจเร็วหรือช้าแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน

๑. พัฒนาการด้านร่างกาย เป็นพัฒนาการที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของร่างกายในด้านโครงสร้างของร่างกาย ด้านความสามารถในการเคลื่อนไหว และด้านการมีสุขภาพอนามัยที่ดี รวมถึงการใช้สัมผัสรับรู้ การใช้ตาและมือประสานกันในการทา กิจกรรมต่างๆ เด็กอายุ ๓-๕ ปี มีการเจริญเติบโตรวดเร็วโดยเฉพาะในเรื่องน้า หนักและส่วนสูง กล้ามเนื้อใหญ่จะมีความก้าวหน้ามากกว่ากล้ามเนื้อเล็ก สามารถบังคับการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดี มีความคล่องแคล่วว่องไวในการเดิน สามารถวิ่ง กระโดด ควบคุมและบังคับการทรงตัวได้ดีจึงชอบเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง พร้อมที่จะออกกา ลังและเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆส่วนกล้ามเนื้อเล็กและความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือยังไม่สมบูรณ์ การสัมผัสหรือการใช้มือมีความละเอียดขึ้น ใช้มือหยิบจับสิ่งของต่างๆได้มากขึ้น ถ้าเด็กไม่เครียดหรือกังวลจะสามารถทา กิจกรรมที่พัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้ดีและนานขึ้น

๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกของเด็ก เช่นพอใจไม่พอใจ รัก ชอบ สนใจ เกียด โดยที่เด็กรู้จักควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและการนับถือตนเอง เด็กอายุ ๓-๕ ปีจะแสดงความรู้สึกอย่างเต็มที่ไม่ปิ ดบัง ช่อนเร้น เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธแต่จะเกิดเพียงชั่วครู่แล้วหายไปการที่เด็กเปลี่ยนแปลงอารมณ์ง่ายเพราะมีช่วงความสนใจระยะสั้น เมื่อมีสิ่งใดน่าสนใจก็จะเปลี่ยนความสนใจไปตามสิ่งนั้น เด็กวันนี้มักหวาดกลัวสิ่งต่างๆ เช่น ความมืด หรือสัตว์ต่างๆ ความกลัวของเด็กเกิดจากจินตนาการ ซึ่งเด็กว่าเป็นเรื่องจริงสำหรับตน เพราะยังสับสนระหว่างเรื่องปรุงแต่งและเรื่องจริง ความสามารถแสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสมกับวัย รวมถึงชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น เพราะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลงและต้องการความสนใจจากผู้อื่นมากขึ้น

๓. พัฒนาการด้านสังคม เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมครั้งแรกในครอบครัวโดยมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่และพี่น้อง เมื่อโตขึ้นต้องไปสถานศึกษา เด็กเริ่มเรียนรู้การติดต่อและการมีสัมพันธ์กับบุคคลนอกครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในวัยเดียวกัน เด็กได้เรียนรู้การปรับตัวให้เข้าสังคมกับเด็กอื่นพร้อมๆกับรู้จักร่วมมือในการเล่นกับกลุ่มเพื่อน เจตคติและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กจะก่อขึ้นในวัยนี้และจะแฝงแน่นยากที่จะเปลี่ยนแปลงในวัยต่อมา ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยนี้ มี ๒ ลักษณะ คือลักษณะแรกนั้น เป็นความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่และลักษณะที่สองเป็นความสัมพันธ์กับเด็กในวัยใกล้เคียงกัน

๔. ด้านสติปัญญา ความคิดของเด็กวัยนี้มีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ยังไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น เด็กมีความคิดเพียงแต่ว่าทุกคนมองสิ่งต่างๆรอบตัว และรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ เหมือนตนเอง ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ที่สุด เมื่ออายุ ๔-๕ ปี เด็กสามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบตัวได้ สามารถจาสิ่งต่างๆ ที่ได้กระทาซ้ากันบ่อยๆ ได้ดี เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น แต่ยังอาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ แก้ปัญหาการลองผิดลองถูกจากการรับรู้มากกว่าการใช้เหตุผลความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวพัฒนาอย่างรวดเร็วตามอายุที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของพัฒนาการทางภาษา เด็กวัยนี้เป็นระยะเวลาของการพัฒนาภาษาอย่างรวดเร็ว โดยมีการฝึกฝนการใช้ภาษาจากการทากิจกรรมต่าง ๆ ในรูปของการพูดคุย การตอบคาถาม การเล่าเรื่อง การเล่านิทานและการทากิจกรรมต่าง ๆ ท เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาในสถานศึกษา เด็กปฐมวัยสามารถ ใช้ภาษาแทนความคิดของตนและใช้ภาษาในการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่นได้คาพูดของเด็กวัยนี้ อาจจะทาให้ผู้ใหญ่บางคนเข้าใจว่าเด็กรู้มากแล้วแต่ที่จริงเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของคาและเรื่องราวลึกซึ้งนัก

ตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จานวน ๑๒ มาตรฐาน โดยเลือกตัวบงชี้ในแต่ละมาตรฐานให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้และนาไปจัดประสบการณ์ผ่าน 6 กิจกรรม โดยมาตรฐาน ๑๒ มาตรฐาน ประกอบด้วย

๑.พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสาน

สัมพันธ์กัน

๒.พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

๓.พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย

มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมใน

ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๔.พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ ๙ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้

มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้

เหมาะสมกับวัย



                       การเรียนในครั้งนี้อาจารย์ให้ทำแผนการจัดประสบการณ์ตามหน่วยของแต่ละกลุ่มแล้วอาจารย์อธิบายและคอยให้คำแนะนำ

1)      เนื้อหา อาหารหลัก5หมู่ ประโยชน์ของอาหารหลัก5หมู่ การทำแซนวิส อาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์

2)      แนวคิด  ให้เด็กได้รู้จักอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่อาหารหลัก5หมู่

3)      ประสบการณ์สำคัญ

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์-จิตใจ

ด้านสังคม

ด้านสติปัญญา

-การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เล็กกล้ามเนื้อมัดเล็ก

-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และเคลื่อนที่

 

-การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง

-การทำกิจกรรมศิลปะต่างๆ

-การสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม

-การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น

-การมีปฏิสัมพันธ์ มีวินัย มีส่วนร่วมและบทบาทสมาชิกของสังคม

-การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม

-การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของห้องเรียน

-การฟังเพลง คำคล้องจอง

-การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือพูดเล่าเรื่อง

-การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านท่าทาง





แผนการจัดประสบการณ์  อ.3/1 กิจกรรมเสริมประสบการณ์

วัตถุประสงค์

สาระการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้

สื่อ/แหล่งเรียนรู้

การวัดและประเมินผล

การบูรณาการ

สาระที่ควรเรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ

1. เด็กสามารถท่องคำคล้องจองอาหารหมู่ที่ 1 และหมู่ 2

2. เด็กสามารถบอกประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ได้

3. เด็กสามารถแยะประเภทอาหารหลักหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ได้

4. เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นและสนทนากับครูได้

อาหารหลัก 5 หมู่

- อาหารหลักหมู่ที่ 1

- อาหารหลักหมู่ที่ 2

หมู่ที่ 1 โปรตีน

ประกอบด้วย

เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งและงา

ประโยชน์

-ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต

-ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

หมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต

ประกอบด้วย

ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน

ประโยชน์

- ให้พลังงาน

- ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย     

ด้านร่างกาย

1.1.2 การใช้กล้ามเนื้อเล็ก

5.การหยิบจับการใช้กรรไกรการฉีกการตัดการประและการร้อยวัสดุ

ด้านอารมณ์ จิตใจ

1.2.4 การแสดงออกทางอารมณ์

1.การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น

ด้านสังคม

1.3.4 การมีปฏิสัมพันธ์มีวินัยมีส่วนร่วมและบทบาทสมาชิกของสังคม

2.การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของห้องเรียน

3.การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

1.3.5 การเล่นและทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ

1.การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ด้านสติปัญญา

1.4.1 การใช้ภาษา

3.การฟังเพลงนิทานคำคล้องจองบทร้อยกรองหรือเรื่องราวต่างๆ

4.การพูดแสดงความคิดความรู้สึกและความต้องการ ถ้าการพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองหรือพูดเล่าเรื่องราว

1.4.2 การคิดรวบยอดการคิดเชิงเหตุผลการตัดสินใจและแก้ปัญหา

18.การมีส่วนร่วมในการลงความคิดเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล

ขั้นนำ

- เด็กและครูท่องคำคล้องจอง อาหารหลักหมู่ 1 และหมู่ที่ 2” (ไม่ทราบนามผู้แต่ง)

หมู่ 1 กินเนื้อนมไข่ ถั่วเมล็ดช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

หมู่ 2 ข้าว แป้ง เผือก มัน อีกทั้งน้ำตาลช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

   สองหมู่ที่เราร็จักนั้นล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

-เด็กและครูสนทนาเนื้อหาในคำคล้องจองอาหารหลักหมู่ที่ 1และหมู่ที่ 2

-ครูถามเด็กว่าว่าคำคล้องจองพูดถึงอะไรบ้าง

ขั้นสอน

1. เด็กและครูสนทนาเนื้อหาในคำคล้องจองอาหารหลัก 1 และ 2 หมู่

2. เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับอาหารหลักหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 พร้อมนำภาพวงล้ออาหารหลัก 5 หมู่ ให้เด็กๆ ดูและสังเกตอาหารหลักหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2

-ครูมีแผ่นชาร์จอาหารหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 และมีรูปภาพอาหารมาให้เด็กๆดูแล้วให้เด็กออกมาติดว่าอยู่หมู่อะไร และเขียนว่ามีประโยชน์อย่างไร

- เด็กและครูสนทนาทบทวนอาหารหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร

-แผ่นชาร์จ

 

สังเกตพฤติกรรม

1. ท่องคำคล้องจองอาหารหลัก 1และหมู่ที่ 2 ได้

2. บอกประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ได้

3. แยกประเภทอาหารหลักหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ได้

4. แสดงความคิดเห็นและสนทนากับครูได้

 

-          คณิตศาสตร์

-          วิทยาศาสตร์

การสะท้อนตนเองหลังการสอน..............................................................................................................................................................................................................................................................................................


แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น....อนุบาล3/1 กิจกรรม เสริมประสบการณ์

วัตถุประสงค์

สาระการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้

สื่อ/แหล่งเรียนรู้

การวัดและประเมินผล

การบูรณาการ

สาระที่ควรเรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ

1.เด็กสามารถท่องคำคล้องจองกินผักผลไม้ ได้

2. เด็กสามารถบอกประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ได้

3. เด็กสามารถแยกประเภทอาหารหลักหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ได้

4. เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นและสนทนากับครูได้

อาหารหลัก 5 หมู่

-อาหารหลักหมู่ที่ 3

-อาหารหลักหมู่ที่ 4

หมู่ที่ 3 แร่ธาตุ

ประกอบด้วย ผักต่างๆ

ประโยชน์

-ทำให้ร่างกายแข็งแรงมีความต้านทานโรค

-ช่วยให้อวัยวะต่างๆทำงานปกติ มีกากใยมากทำให้มีระบบขับถ่ายที่ดีและทำงานปกติ

หมู่ที่ 4 วิตามิน

ประกอบด้วย ผลไม้ต่างๆ

ประโยชน์

- บำรุงผิวพรรณ ทำให้ร่างกายแข็งแรงมีความต้านทานโรค

- มีกากใยมากทำให้มีระบบขับถ่ายที่ดีและทำงานปกติ

 

ด้านร่างกาย

การใช้กล้ามเนื้อเล็กในการหยิบจับ

ด้านอารมณ์ จิตใจ

1. การแสดงออกทางอารมณ์

2.การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น

ด้านสังคม

1.การมีปฏิสัมพันธ์มีวินัยมีส่วนร่วมและบทบาทสมาชิกของสังคม

2.การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

3.การเล่นและทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ

4.การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ด้านสติปัญญา

1.การใช้ภาษา

2.การฟังเพลงนิทานคำคล้องจองบทร้อยกรองหรือเรื่องราวต่างๆ

3.การพูดแสดงความคิดเห็นรู้สึกและความต้องการ

ขั้นนำ

- เด็กและครูร่วมกันท่องคำคล้องจอง ผัก ผลไม้

 (ไม่ทราบนามผู้แต่ง)

กินผักผลไม้ ร่างกายแข็งแรง กินแล้วแก้มแดง

มีแรงแข็งขัน มีทั้งผักกาด คะน้า กวางตุ้ง

ผักบุ้งนั้นหนา เกลือแร่มากมาย

ผลไม้นานา มีส้ม มังคุด

องุ่น ลำไย แอปเปิลนั้นไซร้ ให้วิตามิน

ขั้นสอน

1. เด็กและครูสนทนาเนื้อหาในคำคล้องจองกินผักผลไม้ และถามเพิ่มเติมนอกเหนือจากสิ่งที่อยู่ในคำคล้องจอง

2.เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับอาหารหลักหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 และนำวงล้ออาหารหลักหมู่ที่ 3 และหมู่ที่4 ให้เด็กดูโดยใช้คำถามดังต่อไปนี้

เด็กๆคิดว่าอาหารหลักหมู่ที่3 และหมู่ที่4ประกอบด้วยอะไรบ้างและแต่ละหมู่มีประโยชน์อย่างไร

นำผักผลไม้ของจริงมาให้เด็กดู

3.ครูมีแผ่นชาร์ตตารางอาหารหมู่ที่3และ4 มีรูปภาพอาหารให้เด็กออกมาติดจำแนกว่าอยู่หมู่ที่เท่าไหร่

ขั้นสรุป

- เด็กและครูสนทนาทบทวนอาหารหลักหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ว่าประกอบอะไรบ้างและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

 

-แผ่นชาร์ต

-ผักผลไม้ของจริง

-ภาพผักผลไม้ต่างๆ

สังเกตพฤติกรรม

1ท่องคำคล้องจองผักผลไม้ได้

2. บอกประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ได้

3. แยกประเภทอาหารหลักหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ได้

4. แสดงความคิดเห็นและสนทนากับครูได้

 

การสะท้อนตนเองหลังการสอน..............................................................................................................................................................................................................................................................................................


แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น..อนุบาล3/1 กิจกรรม.เสริมประสบการณ์

วัตถุประสงค์

สาระการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้

สื่อ/แหล่งเรียนรู้

การวัดและประเมินผล

การบูรณาการ

สาระที่ควรเรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ

1.เด็กสามารถท่องคำคล้องจอง อาหารหมู่ที่ 5 ได้

2.เด็กสามารถบอกประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 5ได้

3.เด็กสามารถแยกประเภทอาหารหลัก 5 หมู่ได้

4.สามารถแสดงความคิดเห็นและศึกษากับครูได้

อาหารหลัก 5 หมู่

- อาหารหลักหมู่ที่ 5 หมู่ที่ 5 ไขมัน

ประกอบด้วย

ไขมันจากพืชและสัตว์ ชีท เนย

ประโยชน์

ให้พลังงานแก่ร่างกาย สะสมไขมันไว้ใต้ผิวหนังตามส่วนต่างๆให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและร่างกายจะดึงออกมาใช้เมื่อจำเป็น ช่วยดูดซึมวิตามินชนิดละลายไขมัน อันได้แก่ วิตามินเอ ดี อีและเค

 

ด้านร่างกาย

1.1.2 การใช้

1.กล้ามเนื้อเล็กการหยิบจับ

ด้านอารมณ์ จิตใจ

1.2.4 การแสดงออกทางอารมณ์

1.การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น

ด้านสังคม

1.3.4 การมีปฏิสัมพันธ์มีวินัยมีส่วนร่วมและบทบาทสมาชิกของสังคม

3.การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

1.3.5 การเล่นและทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ

1.การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ด้านสติปัญญา

1.4.1 การใช้ภาษา

4.การพูดแสดงความคิดเห็นรู้สึกและความต้องการ

1.4.3 จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

1.การรับรู้และแสดงความคิด ความรู้สึกผ่านสื่อวัสดุของเล่นและชิ้นงาน

ขั้นนำ

- เด็กและครูร่วมกันท่องคำคล้องจองอาหารหมู่ที่ 5

(ไม่ทราบนามผู้แต่ง)

ไขมันจากพืชและสัตว์ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย

มีทั้งน้ำมันงา น้ำมันข้าวโพด น้ำมันงาจากเมล็ดถั่วต่างๆ

และยังมีไขมันจากสัตว์ น้ำมันหมู น้ำมันเนย น้ำมันวัวล้วนช่วยดูดซึมวิตามินในร่างกายของเรา

ขั้นสอน

1.เด็กและครูสนทนาเนื้อหาในคำคล้องจองอาหารหลัก 5หมู่

2.เด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับอาหารหลักหมู่ที่ห้าและนำวงล้ออาหารหลัก 5หมู่ ให้เด็กดูโดยใช้คำถามดังนี้

เด็กๆคิดว่าอาหารหลักหมู่ที่ 5ประกอบด้วยอะไรบ้าง

อาหารหลักหมู่ที่ 5 มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

3.ให้เด็กช่วยกันหาสื่อจำลองในมุมบ้านมาจัดหมวดหมู่ร่วมกัน

4.ครูบันทึกลงในผังกราฟิกอาหารหลัก 5หมู่

ขั้นสรุป

- เด็กและครูสนทนาทบทวนอาหารหลักหมู่ที่ 5 ว่าประกอบอะไรบ้างและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

 

- แผ่นชาร์ต

- ผังกราฟิกอาหารหลัก 5 หมู่

- สื่อในมุมบ้าน

สังเกตพฤติกรรม

1.ท่องคำคล้องจอง อาหารหลัก 5หมู่ได้

2.บอกประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 5ได้

3.แยกประเภทอาหารหลัก 5 หมู่ได้

4.แสดงความคิดเห็นและศึกษากับครูได้

-          คณิตศาสตร์

-    วิทยาศาสตร์

การสะท้อนตนเองหลังการสอน..............................................................................................................................................................................................................................................................................................

แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น..อนุบาล3/1....กิจกรรมเสริมประสบการณ์.

วัตถุประสงค์

สาระการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้

สื่อ/แหล่งเรียนรู้

การวัดและประเมินผล

การบูรณาการ

สาระที่ควรเรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ

1.เด็กสามารถบอกส่วนผสมและอุปกรณ์ที่ใช้ทำแซนวิช 5 สหาย

2.เด็กสามารถประกอบอาหารเมนูแซนวิช 5 สหายได้

3.เด็กสามารถบอกประโยชน์ของเมนูแซนวิช5สหายได้

4.เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

แซนวิช5สหาย ประกอบไปด้วยขนมปัง เนื้อไก่ ปูอัด ผักสลัด มายองเนส และมะเขือเทศ

ด้านร่างกาย

1.การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่

ด้านอารมณ์-จิตใจ

2.การพูดสะท้อนความคิดเห็น

ด้านส้งคม

3.การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน

ด้านสติปัญญา

4.การใช้ภาษา

5.การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง

ขั้นนำ

-ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเรื่องอาหารหลัก5หมู่ พร้อมแนะนำอาหารที่จะทำ คือ cooking แซนวิช5สหาย

ขั้นสอน

1.เด็กและครูร่วมกันแนะนำวัตถุดิบในการทำcooking

2.เด็กและครูร่วมกันสาธิตการทำแซนวิชตามขั้นตอน

3.ครูแบ่งกลุ่มให้เด็กช่วยกันทำcooking

4.เด็กรับประทานแซนวิช5สหาย

5.ช่วยครูเก็บอุปกรณ์หลังทานเสร็จ

ขั้นสรุป

-เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงอาหารหลัก5หมู่และแซนวิช5สหาย

ขนมปัง

ผักสลัด

ข้าวโพด

เนื้อไก่

มายองเนส

มะเขือเทศ

ปูอัด

มีด / เขียง

สังเกตพฤติกรรม

1.บอกส่วนผสมและอุปกรณ์ที่ใช้ทำแซนวิช 5 สหาย

2.ประกอบอาหารเมนูแซนวิช5หาย

3.บอกประโยชน์แซนวิช5สหายได้

4.ทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่น

-ภาพถ่าย

-วิดีโอ

-ชาร์ตวัตุดิบและขั้นตอน

การสะท้อนตนเองหลังการสอน..............................................................................................................................................................................................................................................................................................


แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น..อนุบาล3/1 กิจกรรม.เสริมประสบการณ์

วัตถุประสงค์

สาระการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้

สื่อ/แหล่งเรียนรู้

การวัดและประเมินผล

การบูรณาการ

สาระที่ควรเรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ

1.เด็กสามารถเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้

2.เด็กสามารถจำแนกอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์ได้

3.เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นและสนทนากับครูได้

การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น นม ข้าว ผัก ผลไม้  เนื้อสัตว์

การหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ลูกอม น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว

ด้านร่างกาย

1.ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับ

ด้านอารมณ์

2.การพูดแสดงความรู้สึก

ด้านสังคม

3.การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น

ด้านภาษา

4.การใช้ภาษา

ขั้นนำ

-เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับปริศนาคำทายอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์

อะไรเอ่ย มีตัวสีส้ม บนหัวสีเขียว กระต่ายชอบเคี้ยว

อะไรเอ่ย กินแล้วซาบซ่า ชื่นใจ โทษมากมายมหาศาล

ขั้นสอน

1.เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับปริศนาคำทายอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์

2.เด็กและครูสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์ว่ามีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง

3.ครูนำอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์มาให้เด็กดู

4.ครูขอตัวแทนเด็กออกมาช่วยแยกประเภทของอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์ลงในตะกร้า

ขั้นสรุป

-ครูและเด็กร่วมกันสรุปทบทวนอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

-ปริศนาคำทาย

-อาหารที่มีประโยชน์

-อาหารที่ไม่มีประโยชน์

สังเกตพฤติกรรม

1.เด็กเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้

2.เด็กจำแนกอาหารอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้

3.เด็กสนทนาและแสดงความคิดเห็นกับครูได้

-ภาพถ่ายขณะทำกิจกรรม

-ปริศนาคำทาย

 การสะท้อนตนเองหลังการสอน..............................................................................................................................................................................................................................................................................................



 รูปภาพบรรยสกาศในการเรียน




  ประเมิน


                    ประเมินอาจารย์ : สดใส ยิ้มเเต่งตัวสุภาพเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือดี
                               ประเมินตัวเอง : ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์เเละให้ความร่วมมือ

 


การเรียนครั้งที่ 14

   6 กิจกรรมหลัก ของเด็กปฐมวัย 1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซ...